วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

ประจำวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558

Knowledge
   สภาพอากาศ เป็นวิทยาศาสตร์ที่หลายคนพูดถึง บทเรียนนี้จะทำให้รู้สึกว่าการพุดคุยกับนักเรียนในสิ่งที่คุ้นเคยกันดี เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก  โดยจะกล่าวถึงความคิดรวบยอดต่อไปนี้



ดวงอาทิตย์ให้ความอบอุ่นแก่โลก
    ความคิดรวบยอด

       อภิปรายทั้งชั้น - พูดถึงสิ่งที่นักเรียนพบเห็นอย่างย่อๆ และสรุปว่าดวงอาทิตย์มีผลต่ออุณหภูมิอย่างไรครูให้นักเรียนคิดต่อว่า "คืนนี้อากาศจะร้อนเท่ากับเวลากลางวันที่มีแสงเเดดอย่านี้หรือไม่"

การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศทำให้เกิดลม
 ความคิดรวบยอด




สรุปกิจกรรม
          เวลาได้รับความร้อนน้ำและอากาศจะเบาขึ้น มำให้น้ำและอากาศที่เย็นกว่า เคลื่อนที่เข้ามาข้างใต้ ดันอากาศและน้ำที่ร้อนขึ้นไป ดังที่เราเห็นเกิดกับน้ำที่ผสมสี  มีอากสาศเย็นเคลื่อนเข้ามาอย่างรวดเร็วข้างใต้อากาศร้อน ทำให้เกิดเป็นลม
**นักเรียนลองสังเกตดูที่บ้านว่า "เวลาเปิดช่องแช่น้ำแข็งของตู้เย็นในครัวในขณะที่ครัวร้อนและมีไอน้ำมาก ไอเย็นจะเคลื่อนที่ไปทิศทางใด"


Skills
        การทำกิจกรรมต่างๆต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยรอบด้วย ครูต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต ร่วมมือทำกิจกรรมต่างๆไปพร้อมกับเด็ก ไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้ความรู้แต่ต้องเป็นผู้เรียนรู้ด้วย

Apply
     -ใช้ในการจัดกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
     -การใช้วัสดุอุปกรณ์รอบตัว

Teaching methods
     เรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเปิดกว้าง ตามความพอใจของผู้เรียน
     
Assessment

       place : มีหนังสือมากมายให้ค้นหาตามความต้องการ อุณหภูมิพอเหมาะ อุปการณ์และเทคโนโลยีมีความพร้อมในการใช้งาน     Myself :เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจศึกษาหาหนังสือในห้องสมุด 

ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน 
มีการแบ่งกลุ่งและแบ่งงานอย่างยุติธรรม
       Instructor : อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 
ให้คำแนะนำและติชมเพื่อนำไปปรับปรุง มีการสอดแทรกคุณธรรมในเรื่องของความรับผิดชอบ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ


สรุปบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
 
By : ASTVผู้จัดการออนไลน์
 
       แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
       1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
       2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
       3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
       5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
 

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

ประจำวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558
Knowledge
พัฒนาการทางสติปัญญาCognitive Development
ความหมาย ความเจริญด้านความสามรถทางภาษา การคิด ของแต่ละบุคคล
สรุป สติปัญญาเกิดจากการปรับ แนวคิด+พฤติกรรม = ความอยู่รอด

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิกของเพียเจท์
1.Senormotor Stage (0-2 year)
    มีปฏิกริยาสะท้อน เช่น ดูดนิ้ว การไขว่คว้า ทา
รกจะแก้ปัญหาาอย่างง่ายๆจากความอยากรู้อยากเฆ็น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสะสมความคิดความเข้าใจ
2.Preoperational Stage (2-7 year)
   - Preconceptual  Thought  (2-4 year)
   - Intuitive Thought  (4-7 year)
3.Concrete Operation stage (4-7 year)

Skills

การเลือกหน่วย
  - ใกล้ตัว
  - เด็กสนใจ
  - สิ่งที่มีผลกระทบ
เครื่องมือในการเรียนรู้
 - ภาษา+วิทยาศาสตร์
 - การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
 - เสริมสร้างสติปัญญา
 - มีเหตุผล
Apply
      เด็กจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลางegocentric คือ เด็กมีความคิดความเข้าใจว่าผู้อื่นรับรู้และเข้าใจเหมือนที่ตนคิดลักษณะดังกล่าวนี้เด็กถือเอาตนเองเป็นสุนย์กลาง จึงรู้จักการรับมากกว่าการให้  ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจพัฒนาการทางสติปัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถ เป็นพื้นฐานพัฒนาขั้นต่อไป


Teaching methods
     ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน

Assessment

       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 
     Myself :เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย พูดคุยกับเพื่อนขณที่อาจารย์สอน
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น      
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
ประจำวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558

Knowledge
เทคนิคการสอน
**พัฒนาการ = ความสามารถที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามแต่ละช่วงอายุ**

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Skills
  - การใช้เทคโนโลยีในการหาข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
   - การสรุปเป็นผังความคิดจะทำให้ง่ายในการจดจำ
   - การมีความสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าตอบ

Apply
    การสอนต้องมีความหลากหลายเพื่อเป็นการกระคุ้นการเรียนรู้ของเด็ก เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น อยากทำควารให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง

Teaching methods
      ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม


Assessment
       
       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน        
       Myself :ยังไม่ค่อยมีความพร้อมด้านการเรียนเนื่องจากเป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ