วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
ประจำวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558
Knowledge
กิจกรรมที่ 1    ดอกไม้บาน
ลำดับขั้นการทดลอง 
1.พับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 กลีบ
2.ระบายสีเพื่อเป็นสัญลักษณ์และความแตกต่างของแต่ละบุคคล
3.นำลงน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วสังกต
   -ของใครจะจมน้ำก่อน
   -เพราะอะไร
   -มีลักษณะดอกเป็นอย่างไร
4.มีหนึ่งคนคอยจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการทดลองหลังจากนำดอกไม้ลอยน้ำแล้ว
    จากการสัเกตุ พบว่า ดอกไม้กลีบใหญ่เมื่อวางลงบนน้ำจะบานก่อนดอกไม้ของเพื่อนคนอื่นและเมื่อลอยนานๆสีที่ดอกไม้ก็จะค่อยๆละลายไปกับน้ำ


กิจกรรมที่ 2 รูไหนไหลแรง

ลำดับขั้นการทดลอง
1.นำขวดพลาสติกมาเจาะรู 3 ระดับ

2.นำเทปกาวมาติดรูทั้ง 3 แล้วเติมน้ำจนเต็ม

3.แกะเทปกาวทีละรูตามลำดับ และสังเกตการพุ่งของน้ำ



4.แกะเทปกาวพร้อมกันทุกรู และสังเกตการพุ่งของน้ำ
สรุป เปิดทีละรู -น้ำรูระดับบนสุดจะพุ่งแรงที่สุด
       เปิดพร้อมกัน-น้ำรูระดับกลางไหลแรงที่สุด
       ความแรงของน้ำแต่ละรูขึ้นอยู่กับแรงดัน

กิจกรรมที่3 น้ำพุจากขวดน้ำ


วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์


เทน้ำใส่่ขวด
เมื่อเทน้ำใส่ขวด น้ำจะไหลผ่านสายยางและพุ่งออกไปทางท่อ
 สรุป -ขณะเทหากปิดขวดน้ะจะไม่พุ่งออกมา 
       - การพุ่งของน้ำขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการวางก้อนดินน้ำมัน**
            ยิ่งวางต่ำยิ่งสูง

กิจกรรมที่ 4 เรือพลังสบู่
สรุป ความเป็นด่างของสบู่เมื่อโดนน้ำจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้

กิจกรรมที่5 ลูกยางกระดาษ
วิธีการทำ
ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยวผืนผ้า>>ตัดครึ่งหนึ่งของกระดาษ>>พับชายที่เหลือขึ้นมา

นำคลิบหนีบกระดาษมาติดด้านล่าง

สรุป เป็นของเล่นที่จำลองลูกยางของจริง สอนในเรื่องลม การหมุนช้าหรือเร็วของลูกยางขึ้นอยู่กับการโยน การพับ ตำแหน่งการติดคลิปหนีบกระดาษ

กิจกรรมที่ 5 ไหมพรมเริงระบำ

สรุป ไหมพรมจะสั่นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเป่าของแต่ละบุคคล


Skills
   ทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์ คิด-วิเคราะห์ สังเคราะห์ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking  ระดมความคิดการเขียนแผนการสอนการทดลอง และ การทำ Cooking ทักษะการสังเกต ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดภายในกลุ่มการยอมรับความเห็นของผู้อื่น

Apply
       นำกิจกรรมต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย

Teaching methods
      ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม มีกิจกรรมการทดลองที่มากมาย ให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Assessment
       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
       Myself : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
ประจำวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558
Knowledge
เลือกของเล่นวิทยาศาสตร์คนละ 1 ชิ้น
 - สำรวจ และ ทำความเข้าใจของเล่นชิ้นั้น
 - อธิบายของเล่นชิ้นนั้น
ของเล่นวิทยาศาสตร์สอน เรื่อง แรงดัน

เป่าลูกโป่งผ่านหลอดสีชมพู>>ลูกโป่งพองขึ้นเพีบงเล็กน้อย

เป่าลูกโป่งผ่านหลอดสีเขียว>>ลูกโป่งพองขึ้นมาก


ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
    เมื่อเป่าลมเข้าในหลอดสีเขียวความหนาแน่นของอากาศในขวดจะเพิ่มมากขึ้น ความดันอากศจึงลูงขึ้น
แรงดันอากาศที่สูงขึ้นจะดันอากาศให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากอากาศภายนอกมีมากกว่าภายใน

นำเสนอ
ของประดิษฐ์เล่น กิจกรรมการทดลอง และของเล่นเข้ามุม
มีกลุ่มดังต่อไปนี้
 


สาระที่ควารเรียนรู้ที่ทำ คือ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก หน่วยต้นไม้แสนรัก
การประดิษฐ์ของเล่น
  - กังหันลมจากไม้ไอติม
กิจกรรมการทดลอง
  - ปลูกถั่วงอก
ของเล่นเข้ามุม
  - ขวดเมล็ดพืชชิตต่างๆ
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
- สามารถใช้การทดลองที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เช่น การคายน้ำของใบไม้ การเป็นกรด-เบส การลำเลียงอาหารของต้นไม้ การทดลองสิ่งที่เพิ่มเติม คือ หากปลูกถั่วงอกในที่มีแสง-ไม่มีแสง  มีอากาศ-ไม่มีอากาศ    มีน้ำ-ไม่มีน้ำฯลฯ เพื่อให้เด็กได้รู้ถึงกสรเปรยบเทียบ การสังเกตุ เป็นการสอดคล้องกับทักษะวิทยาศาสตร์
-  ของเล่น อาจเป็นของเล่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ม้าก้านกล้วย ปืนกาบกล้วย นาฬิกาใบมะพร้าว
 
Skills
นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
โดย : นางสาวสุทธิกานต์ กางพาพันธ์ เลขที่13
เรื่อง : โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?
โดย : สถาบันส่งเสริมดารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท)
    สรุป เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย2556 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย สสวท ได้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ และความคิดลงมือแก้ไขด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ช่วยกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ ลม อากาศ และพลังงานจึงมุ่งหวังให้เด็กๆตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยมองเห็นประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
 

โดย : นางสาวสุทธินี โนนบริบูรณ์ เลขที่ 14
เรื่อง :สอนเด็กให้คิดเป็น
ของ : ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
    สรุป  ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง” และยังไปขยายผลสู่พี่เลี้ยง และครูฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ มีผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆ ที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญอีกด้วย

โดย : นางสาวเจนจิรา เทียมนิล เลขที่12
เรื่อง : สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
ของ : ผุ้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา เรืองรอง
      สรุป บอกถึงการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเรือ่งแม่เหล็ก โดยเป็นการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการใช้แม่เหล็กมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการสอนหรือการจัดกิจกรรมให้เด็ก โดยพื้นฐานแล้วเด็กจะมีความอยากรู้อยากลอง ยิ่งมีการสอนเรื่องแปลกใหม่จะกระตุ้นความสนใจให้เรียนรู้มากขึ้น

Apply
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาการทางสองไปในทางที่ดี หากมีสื่อต่างๆจะเพิ่มความสนใจให้เด็กได้อีกด้วย วัสดุต่างๆรอบตัวสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับความคิดและจินตนาการของผู้สอน

Teaching methods
      ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม เน้นการลงมือปฏิบัติจริง
ในขั้นแรกให้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง พยายามหาคำตอบด้วยตนเอง ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากมายทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียนนั่นเอง

Assessment
       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
       Myself :เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย ยังไม่ค่อยมีความพร้อมด้านการเรียน
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี เสนอความคิดเห็นและยอมรับความเห็นของผู้อื่น
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจสอดแทรกการใช้ทักษะในชีวิต
 

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
ประจำวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558
Knowledge
แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คนเพื่อเขียนผังความคิด
โดยแบ่งเป็นกลุ่มตามสาระที่ควรเรียนรู้
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
**แบ่งหัวข้อโดยวิธีการจับฉลาก**
หัวข้อที่ได้ คือ ธรรมชาติรอบตัว>> หน่วยย่อย เรื่อง ต้นไม้แสนรัก

Mind Mapping หน่วยต้นไม้แสนรัก 


Skills
นำเสนอโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
โดย :  นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น  เลขที่18
เรื่อง :  กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
โดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร

   สรุป   กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง โดยของเล่นที่ครูประดิษฐ์เป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ  มีดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
           โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น
ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ
โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
       
            โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น

ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์  
             ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้
ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ 
             โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง เเละลองสาธิตเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการเคลื่อนย้ายไปเรื่อย เช่น กระเป๋า โต๊ะ เก้าอี้

โดย :  นางสาววัชรี วงศ์สะอาด เลขที่17
เรื่อง :  วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบตัว
 จากข่าว  Family News Today
 สรุป  ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน โรงเรียนยังส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัวด้วยการทำกิจกรรมในการหา คำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลร่วมกัน เพราะครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญที่ทำให้เด็กมีความสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น  เด็ก ๆเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาล ทำให้เด็กรู้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่าย สนุกและเป็นเรื่องใกล้ตัว

โดย :  นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เลขที่16
เรื่อง :  นารีวุฒิ บ้านยักวิทยาศาสตร์
   สรุป บ้านวิทยาศาสตร์น้อย เป็นจัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาล ได้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลไม่มีชั่วโมงการเรียน ที่เป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ทยาศาตสอดแทรกในการเรียนสอนอยู่ในทุกวัน การทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่าย ไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ด้วยตนเองวิเคราะห์สังเกตเปรียบเทียบที่จะหาคำถามตอบครูให้ได้ กิจกรรมในการทดลองมีหลากหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลายการลอยน้ำได้อย่างไร หลอดดำน้ำจม หรือลอย การกรองน้ำเกาะ มหัศจรรย์การไหลแรง และการไหลค่อยเป็นต้น  กิจกรรมต่างๆที่นำเสนอมานั้นเลขจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองพร้อมกับหาคำตอบ ข้อสงสัยและสิ่งที่อยากเรียนรู้จากการทำกิจกรรม ส่วนครูจะเป็นผู้กระตุ้นการตอบคำถามการใช้ภาษาควบคู่ไปกับทักษะทางวิทยาศาสตร์

Apply
     การเขียนผังความคิดควารเริ่มจากการกำหนดหัวข้อใหญ่แล้วค่อยๆแตกความคิดนั้นออกมาทีละน้อย ต้องมีกาจัดสรรพื้นที่ให้พอเหมาะ  สามารถแตกแขนงออกไปได้เรื่อยๆโดยไม่จำกัด หากเขียนแบบไม่คิดหรือวางแผนไว้จะทำให้ผังความคิดที่ออกมาดูลายละเอียด เนื้อหา ยากและไม่เข้าใจ รวมทั้งความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้นมาให้นั้นไม่สามารถเขียนลงไปได้อีก อาจทำให้เราต้องหยุดความคิดลง

Teaching methods
      ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอบทโทรทัศน์ครูที่ผู้เรียนนำเสนนอเพื่อให้เข้าใจถึงการจัดประสบการณ์อย่างแท้จริง

Assessment
       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
       Myself : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น พูดคุยเสียงดังรบกวนเพื่อน
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทโทรทัศน์


สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง : สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
โดย : ครูประกายแสง เงินกร
          ครูวาสนา พรมตา 

     การสอนวิทยาศาสตร์นั้นจะทำให้เด็กช่างสังเกต พอสังเกตก็จะทำให้เกิดปัญหา แล้วปัญหาเล่านั้น ก็จะทำให้เกิดสมมติฐาน และพอมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วเด็กก็สงสัยอยากที่จะหาคำตอบ ซึ่งในการทดลองนั้นเด็กจะชอบมากเพราะเด็กจะได้ลงมือกระทำด้วยตนเองผ่านประสบการณ์ตรงซึ่งการที่เราจะเป็นจิตวิทยาศาสตร์ได้นั้นจะต้องเป็นคนช่างสังเกต การสังเกตนั้นต้องละเอียด ถี่ถ้วน


การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

     คือเราต้องทำอย่างไรให้เด็กรักในวิทยาศาสตร์ ไม่เบื่อ อยากเรียน อย่างรู้อยากเห็น มีความสนใจซึ่งการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นทำได้โดย 
สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน คือ การเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง ขั้นนี้เด็กจะเกิดการอยากรู้อยากเห็น รู้จักสังเกต อยากถามเกี่ยวกับอุปกรณ์
การวัดผล
-สังเกตหลังจากที่สอนว่าเด็กมีความสนใจเนื้อหา สนุกในการเรียนการสอน หรือไม่
-สัมภาษณ์ผู้ปกครองว่าเด็กเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน
     ธรรมชาติของเด็กจะเป็นคนขี้สงสัย ชอบถามว่า ทำไม ทำไม ทำไม แต่ถ้าเด็กคนไหนที่ไม่จิตวิทยาศาสตร์จะไม่ค่อยถาม เรียนไม่สนุก ดังนั้นเราควรเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสามารถเห็นได้จริง ทดลองได้จริง
การเตรียมตัวของครูผู้สอน

-การสอนแบบบรรยาย ครูต้องมีเทคนิคในการสอน ครูต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื้อหาต้องสั้น  กะทัดรัด และเกิดความเข้าใจ เพราะถ้าเราพูดนาน ๆ เด็กจะเบื่อ เนื่องจากเด็กมีสมาธิที่สั้น               
-การทดลอง เด็กจะตื่นเต้นอยากรู้อยากเห็น เกิดข้อสงสัย เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของเขาเอง
การสร้างบรรยากาศ/การวางแผน
     ถ้าวางแผนไม่ดีเด็กจะไม่สนใจ การวางแผนที่ดี คือ ชื่อเรื่อง ต้องมีสิ่งเร้า ซึ่งสิ่งเร้า เด็กต้องสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาให้กับเราได้
    

     เด็กสามารถเรียนรู้โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือต้องชั่งสังเกต พอเกิดการสังเกต ก็จะเกิดปัญหา เด็กต้องรวบรวมปัญหาเพื่อเป็นการตั้งสมมติฐาน เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ ในการทดลอง เราไม่ควรไปตีกรอบผลการทดลอง ซึ่งถ้าทดลองเสร็จแล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมารายงานผล เพื่อเป็นการสรุปผลซึ่งในการทดลองจะทำให้เด็กได้เกิดกระบวนการกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนอีกด้ว

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกกบันทึกอนุทินครั้งที่ 8
ประจำวันอังคารที่ 29 กันยายน 2558
งดการเรียนการสอน
เนื่องจากมีการสอบกลางภาคเรียนที่ 1/2558