วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
ประจำวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558
Knowledge
เลือกของเล่นวิทยาศาสตร์คนละ 1 ชิ้น
 - สำรวจ และ ทำความเข้าใจของเล่นชิ้นั้น
 - อธิบายของเล่นชิ้นนั้น
ของเล่นวิทยาศาสตร์สอน เรื่อง แรงดัน

เป่าลูกโป่งผ่านหลอดสีชมพู>>ลูกโป่งพองขึ้นเพีบงเล็กน้อย

เป่าลูกโป่งผ่านหลอดสีเขียว>>ลูกโป่งพองขึ้นมาก


ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
    เมื่อเป่าลมเข้าในหลอดสีเขียวความหนาแน่นของอากาศในขวดจะเพิ่มมากขึ้น ความดันอากศจึงลูงขึ้น
แรงดันอากาศที่สูงขึ้นจะดันอากาศให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากอากาศภายนอกมีมากกว่าภายใน

นำเสนอ
ของประดิษฐ์เล่น กิจกรรมการทดลอง และของเล่นเข้ามุม
มีกลุ่มดังต่อไปนี้
 


สาระที่ควารเรียนรู้ที่ทำ คือ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก หน่วยต้นไม้แสนรัก
การประดิษฐ์ของเล่น
  - กังหันลมจากไม้ไอติม
กิจกรรมการทดลอง
  - ปลูกถั่วงอก
ของเล่นเข้ามุม
  - ขวดเมล็ดพืชชิตต่างๆ
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
- สามารถใช้การทดลองที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เช่น การคายน้ำของใบไม้ การเป็นกรด-เบส การลำเลียงอาหารของต้นไม้ การทดลองสิ่งที่เพิ่มเติม คือ หากปลูกถั่วงอกในที่มีแสง-ไม่มีแสง  มีอากาศ-ไม่มีอากาศ    มีน้ำ-ไม่มีน้ำฯลฯ เพื่อให้เด็กได้รู้ถึงกสรเปรยบเทียบ การสังเกตุ เป็นการสอดคล้องกับทักษะวิทยาศาสตร์
-  ของเล่น อาจเป็นของเล่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ม้าก้านกล้วย ปืนกาบกล้วย นาฬิกาใบมะพร้าว
 
Skills
นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
โดย : นางสาวสุทธิกานต์ กางพาพันธ์ เลขที่13
เรื่อง : โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?
โดย : สถาบันส่งเสริมดารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท)
    สรุป เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย2556 โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย สสวท ได้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ และความคิดลงมือแก้ไขด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ช่วยกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ ลม อากาศ และพลังงานจึงมุ่งหวังให้เด็กๆตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยมองเห็นประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
 

โดย : นางสาวสุทธินี โนนบริบูรณ์ เลขที่ 14
เรื่อง :สอนเด็กให้คิดเป็น
ของ : ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
    สรุป  ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง” และยังไปขยายผลสู่พี่เลี้ยง และครูฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ มีผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆ ที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญอีกด้วย

โดย : นางสาวเจนจิรา เทียมนิล เลขที่12
เรื่อง : สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
ของ : ผุ้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา เรืองรอง
      สรุป บอกถึงการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเรือ่งแม่เหล็ก โดยเป็นการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการใช้แม่เหล็กมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการสอนหรือการจัดกิจกรรมให้เด็ก โดยพื้นฐานแล้วเด็กจะมีความอยากรู้อยากลอง ยิ่งมีการสอนเรื่องแปลกใหม่จะกระตุ้นความสนใจให้เรียนรู้มากขึ้น

Apply
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาการทางสองไปในทางที่ดี หากมีสื่อต่างๆจะเพิ่มความสนใจให้เด็กได้อีกด้วย วัสดุต่างๆรอบตัวสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับความคิดและจินตนาการของผู้สอน

Teaching methods
      ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม เน้นการลงมือปฏิบัติจริง
ในขั้นแรกให้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง พยายามหาคำตอบด้วยตนเอง ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากมายทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดของผู้เรียนนั่นเอง

Assessment
       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
       Myself :เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย ยังไม่ค่อยมีความพร้อมด้านการเรียน
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี เสนอความคิดเห็นและยอมรับความเห็นของผู้อื่น
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจสอดแทรกการใช้ทักษะในชีวิต
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น