บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
ประจำวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558
Knowledgeแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คนเพื่อเขียนผังความคิด
โดยแบ่งเป็นกลุ่มตามสาระที่ควรเรียนรู้
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
**แบ่งหัวข้อโดยวิธีการจับฉลาก**
หัวข้อที่ได้ คือ ธรรมชาติรอบตัว>> หน่วยย่อย เรื่อง ต้นไม้แสนรัก
Mind Mapping หน่วยต้นไม้แสนรัก
Skills
นำเสนอโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น เลขที่18
เรื่อง : กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
โดย : ครูพงศกร ไสยเพชร
สรุป กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง โดยของเล่นที่ครูประดิษฐ์เป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ มีดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น
ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ
โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น
ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์
ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้
ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ
โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง เเละลองสาธิตเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการเคลื่อนย้ายไปเรื่อย เช่น กระเป๋า โต๊ะ เก้าอี้
โดย : นางสาววัชรี วงศ์สะอาด เลขที่17
เรื่อง : วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบตัว
จากข่าว Family News Today
สรุป ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้ ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า และดินที่มีหญ้า เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน โรงเรียนยังส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัวด้วยการทำกิจกรรมในการหา คำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลร่วมกัน เพราะครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญที่ทำให้เด็กมีความสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น เด็ก ๆเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาล ทำให้เด็กรู้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่าย สนุกและเป็นเรื่องใกล้ตัว
โดย : นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เลขที่16
เรื่อง : นารีวุฒิ บ้านยักวิทยาศาสตร์
สรุป บ้านวิทยาศาสตร์น้อย เป็นจัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาล ได้รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลไม่มีชั่วโมงการเรียน ที่เป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ทยาศาตสอดแทรกในการเรียนสอนอยู่ในทุกวัน การทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่าย ไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ด้วยตนเองวิเคราะห์สังเกตเปรียบเทียบที่จะหาคำถามตอบครูให้ได้ กิจกรรมในการทดลองมีหลากหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลายการลอยน้ำได้อย่างไร หลอดดำน้ำจม หรือลอย การกรองน้ำเกาะ มหัศจรรย์การไหลแรง และการไหลค่อยเป็นต้น กิจกรรมต่างๆที่นำเสนอมานั้นเลขจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองพร้อมกับหาคำตอบ ข้อสงสัยและสิ่งที่อยากเรียนรู้จากการทำกิจกรรม ส่วนครูจะเป็นผู้กระตุ้นการตอบคำถามการใช้ภาษาควบคู่ไปกับทักษะทางวิทยาศาสตร์
Apply
การเขียนผังความคิดควารเริ่มจากการกำหนดหัวข้อใหญ่แล้วค่อยๆแตกความคิดนั้นออกมาทีละน้อย ต้องมีกาจัดสรรพื้นที่ให้พอเหมาะ สามารถแตกแขนงออกไปได้เรื่อยๆโดยไม่จำกัด หากเขียนแบบไม่คิดหรือวางแผนไว้จะทำให้ผังความคิดที่ออกมาดูลายละเอียด เนื้อหา ยากและไม่เข้าใจ รวมทั้งความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้นมาให้นั้นไม่สามารถเขียนลงไปได้อีก อาจทำให้เราต้องหยุดความคิดลง
Teaching methods
ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอบทโทรทัศน์ครูที่ผู้เรียนนำเสนนอเพื่อให้เข้าใจถึงการจัดประสบการณ์อย่างแท้จริง
Assessment
place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
Myself : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น พูดคุยเสียงดังรบกวนเพื่อน
Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น