วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน


การศึกษาดูงานนอกสถานที่

มหกรรมการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
ประจำปี 2558
(ระดับประเทศ)

ณ ชาเลนเจอร์ ๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

วันที่ 14-16 ตุลาคม 2558




สื่อปฐมวัย



หลักสูตรโตไปไม่โกงและวิดิโอสอนความซื่อซัตย์

เอกสารประการเข้าอบรมในงาน EDUCA 2015 

ความรู้ที่ได้รับ
หลักสูตรโตไปไม่โกง
โดย ส่วนวิชาการและมาตรฐานการศึกษาส่วนท้องถิ่น สำนักประสานและพัฒนาการจัดกิจการศึกษาท้องถิ่น ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 
      ความเป็นมา และ ลักษณะของหลักสูตรการทุจริตเป็นปัญหาที่ทำลายสังคมอย่างรุนแรงและฝังรากลึก และเป็นปัญหาที่สะท้อนวิกฤตการณ์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งการที่จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนนั้น  คนในสังคมนั้นต้องมีค่านิยม ในการรักความดีและรู้สึกไม่ยอมรับพฤติกรรมการทุจริตและการโกงทุกรูปแบบ  



มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ National Science and Technology Fair 2558

จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
https://scontent-kul1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xat1/v/t34.0-12/

https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t34.0-12/
การทำลูกข่างลวงตา
ลูกข่างชนิดนี้จะทำให้เราเห็นสีแลลวดลายเปลี่ยนไปขณะหมุนซึ่งเกิดจากการรับภาพของตา
https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtf1/v/t34.0-12/
ยุงชนิดต่างๆ ยุงลาย ยุงก้นป่อง ยุงยักษ์

https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtf1/v/t34.0-12/
ของเล่นและสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์
รถพลังลม แปรงอัตโนมัติ ไม้ไอติมยืดได้ รถพลังสูบ
https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xat1/v/t34.0-12/
ปลูกความคิดสร้างนักวิทย์รุ่นเยาว์
              

https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtf1/v/t34.0-12/
การทดสอบสารเรืองแสงในวัสดุต่างๆ

https://scontent-kul1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xpa1/v/t34.0-12/
แสงคือชีวิต
แสง...ความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด

อธิบายการมองเห็นของมนุษย์ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของแสง ชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม


https://scontent-kul1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t34.0-12/
สถาบันส่งเสรมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท)


https://scontent-kul1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xpl1/v/t34.0-12/
วิกฤต ลมฟ้า อากาศ
เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของฤดูกาลและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศ

https://scontent-kul1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xfl1/v/t34.0-12/
การทดลงความหนาแน่นระหว่างน้ำเย็น และน้ำอุ่น
วิธีการ น้ำสีแดง คือ น้ำสีน้ำเงิน คือ …..  เมื่อนำน้ำทั้งสองมาเทรวมกันในลักษณะดังกล่าว ผลที่ได้ คือ เราจะมองเห็นน้ำสีแดงมากว่าน้ำสีน้ำเงิน

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์น้ำ…..มีความหนาแน่นกว่าจึงลงสู่ด้านล่าง ส่วนน้ำ…..มีความหนาแน่นกว่าจึงลอยขึ้นด้านบน

ความรู้ที่ได้รับ
สะเต็มศึกษา
STEM Education
สะเต็มศึกษา คืออะไร
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ในสหวิทยาการได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเน้น การนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

จุดประสงค์
           ส่งเสริมให้ผู้เรียนรัก และเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็ม
มีลักษณะ 5 ประการ ได้แก่
1.             เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ากับกระบวนการทางวิศวกรรม
2.             ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงเนื้อหาทั้ง 4 สาขาวิชากับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ
3.             เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
4.             ท้าทายความคิดของนักเรียน
5.             เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา
               

IPST LEARNING SPECE

ก้าวไปข้างหน้ากับ IPST Learning Spece “เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย


IPST Learning Space 6 ระบบหลัก หลักสูตร สื่อ มีคุณภาพ ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ครบถ้วน ทั้งการเรียนรู้ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ได้แก่
1.ระบบโรงเรียน (School Module) สำหรับบริหารจัดการหลักสูตร แผนจัดการเรียนรู้และข้อสอบในโรงเรียน
2.ระบบอบรมครู(Teacher Training Module)แหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเอง ที่ครูสามารถใช้พัฒนาศักยภาพด้านเนื้อหาและเทคนิคการสอน
3.ระบบการสอบออนไลน์(Online Testing System)ครูสามารถจัดชุดข้อสอบให้นักเรียนทำ และนักเรียนก็สามารถจัดชุดข้อสอบตามหลักสูตร หรือตามความสนใจ เพื่อวัดระดับความรู้ตัวเอง และทราบผลสอบทันที พร้อมเฉลยคำตอบ
4. ระบบคลังสื่อดิจิทัล(Digital Media System) สนับสนุนให้นักเรียนและบุคคลทั่วไปเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง

5.ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์(e-Publishing) เป็นเครื่องมือง่ายๆที่ครูสามารถเรียนรู้เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเองและแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ด้วย
6.ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน(Collaborative Learning)มีกระดานถาม-ตอบ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์


สื่อการทดลอง เสมือนจริง
Virtual Experiment

จากสภาพการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในปัจจุบัน พบว่า ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากการที่ผู้เรียนไม่ได้ทำการทดลองจริง โดยสาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น มีทัศนคติทางลบต่อการเตรียมการทดลองที่ยุ่งมาก ขาดแคลนอุปกรณ์การทดลองหรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน หรือมีเวลาเรียนไม่เพียงพอทำให้ผู้เรียนขาดทักษะกระบวนการที่จำเป็นต่อการเข้าใจวิชาฟิสิกส์ที่ถูกต้อง ดังนั้นทางสาขาฟิสิกส์ สสวท. จึงมีความคิดที่จะช่วยแก้ไข หรือลดปัญหาดังกล่าวด้วยการจัดทำสื่อที่มีชื่อว่าVirtual Experiment : VE.
โดย Virtual Experiment เป็นห้องปฏิบัติการเสมือน ที่สร้างโดยการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาสร้างจำลองห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการทดลองได้เข้ามาใช้สื่อนี้ทำการทดลอง ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทดลอง บันทึกผลการทดลอง การเรียนกราฟ ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป อีกทั้งสื่อนี้ยังมีการประเมินผลการทำการทดลองของผู้เรียนด้วย

จุดเด่นของสื่อ VE. คือ
1.             เป็นนวัตกรรมที่ช่วยกระตุ้นความสนใจในการทำการทดลองแก่ผู้เรียนด้วยรูปแบบสื่อที่ทันสมัย เสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21
2.             ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนทำการทดลองที่ใด เวลาใดก็ได้ จนเกิดทักษะ ความเข้าใจและความมั่นใจในการทดลอง
3.             ผู้เรียนสามารถทบทวนและใช้กระบวนการการหาความรู้ด้วยตนเองจนกระทั่งมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชา เนื่องจากผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับสื่อได้

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
ประจำวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2558
Knowledge
นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย

โดย : นางสาวรัชดา เทพเรียน เลขที่ 5
เรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
   สรุป ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้  แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้นครูยังต้องการตัวอย่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
   พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางซึ่งได้กำหนดไว้
อย่าง กว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้
ในว่าแต่ละสาระ 
   -ครูจะสอนอะไร 
   -สอนแค่ไหน
   - สอนอย่างไร 
   -มีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550

โดย : นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์ เลขที่ 4
เรื่อง : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
   สรุป  วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ

โดย : นางสาวชณาภา คะปัญญา เลขที่ 4
เรื่อง : การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ผู้แต่ง : มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 
    สรุป มีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
การพัฒนาแนวคิด(มโนทัศน์)
  -โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
  -ใช้การต้งคำถาม
  -การทดลอง
  -การสงเกตและการหาข้อสรุป
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
  -สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
  -สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
  -ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
  -ส่งเสริมกระบวนการคิด 
  -ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
  -ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
  -เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
การสร้างความตระหนัก
  -เราต้องการค้นหาอะไร 
  -เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
  -เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
  -สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

โดย : นางสาวชนากานต์  พงศ์สิทธิศักดิ์ เลขที่ 22
เรื่อง : สอนลูกเรื่องอากาศ
ผู้แต่ง : ผศ. บุบผา เรืองรอง 
    สรุป  จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัย รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและ จำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง เด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้นทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย

โดย : นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์ เลขที่ 3
เรื่อง : การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
ของ : ณัฐชุดา  สาครจริญ  ต่อ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พ.ศ. 2548
 สรุป   
ความเป็นมาของวิจัย
      จากการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยโดยใช้มาตรฐานสากลในการจัดอันดับปี 2544 พบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 49 จากทั้งหมด 49 ประเทศแสดงถึงการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เด็กไทยไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรการศึกษาไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจจากการทำกิจกรรม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผลการวิจัย
    จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

โดย : นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก เลขที่ 2
เรื่อง :ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่
ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ของ : ปริญญานิพนธ์ของสุมาลี หมวดไธสง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  สรุป  เด็กเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาในวัยเด็กจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัย เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ จะมีบทบาทสำคัญยิ่งเพราะ วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวก ในชีวิตการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวมยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัย การสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับจากกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กด้วยเหตุผลดังกล่าว และความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจวิธีการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อมุ่งให้เด็กได้ทดลองลงมือปฏิบัติด้วยตนเองรู้จักการคิดวิเคราะห์การแยกแยะ
จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ


นำเสนอบทโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เลขที่ 8
เรื่อง : พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
 สรุป 
    1.เรื่องไข่ ให้เด็กเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ พร้อมๆกัน และตั้งคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไข่สองใบนั้น ถ้าครูโยนไข่ทั้งสองใบพร้อมๆกัน จากนั้นครูทำการโยนไข่และให้เด็กสังเกต ผลปรากฏว่าไข่ใบหนึ่งแตก และอีกใบไม่แตก เด็กจึงทราบว่าไข่ที่ไม่แตกคือ ไข่ตตัม
    2.เรื่องน้ำมัน ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ  น้ำมันพืชและน้ำมันหมูจากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง น้ำมันพืชโปร่งเเสง

Skills
    การนำเสนอ ใช้ ร.เรือ ล.ลิง คำควบกล้ำให้ชัดเจน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดการเขียนแผนการสอนในแต่ละกิจกรรม ต้องมีความสอดคล้องกันทั้งจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ และการประเมินผล จากการวิจัยหลายๆเรื่อง พบว่า การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

Apply
    เน้นการสอนโดยให้เด็กเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเองเพื่อให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ รู้จักการแก้ปัญหา
อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมองได้อีกด้วย เนื่องจากเด็กได้เกิดกระบวนการคิด

Teaching methods
      ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอต่างๆของนักศึกษาเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

Assessment
       place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
       Myself :เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
ประจำวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558
Knowledge
กิจกรรมCooking
ข้าวจี่ 
Ingredient
-sticky rice
-eggs
-salt
-shredded chicken
Equipment
-chopsticks
-stove



วิธีการทำ
1.ปั้นข้าวเหนียวและเสียบไม้

2.ใส่ใส้ไก่หยอง

3.นำมาปิ้งบนเตาสังเกตสีที่เปลี่ยนไปแล้วเกลือและทาไข่




4.นำกลับมาปิ้งอีกครั้งสังเกตสีที่เปลี่ยนไปจนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล



ขนมโค
Ingredient
-sticky rice flour
-mashed green beans
-food coloring
-coconut
-water
Equipment
-electric pan
-dish

วิธีการทำ
1.เทแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำสีผสมอาหารแล้วนวดจนเข้ากัน


2.นำแป้งมากลึงใส่ใส้ถั่วเขียวบดแล้วปั้นแป้งเป็นรูปทรงต่างๆ

3.นำไปต้มในน้ำเดือด3-4 นาที สังเกตว่าสุกหรือไม่ดูจากการลอยของแป้ง


4.คลุกมะพร้าวขูด


หวานเย็น
Ingredient
-water various flavor
-ice
-salt
Equipment
-ladle
-stainless basin


วิธีการทำ
1.ผสมน้ำแข็งและเกลือในปริมาณที่เท่ากัน

2.เทน้ำที่ต้องการลงในกะละมังสเเตนเลส

3.คนน้ำในกะละมังไปเรื่อยๆจนเป็นน้ำแข็ง


4.ตักใส่แก้วพร้อมเสริฟ

Skills
   กิจกรรมCooking ทำให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างครบครัน รู้จักการสังเกต จำแนก การวัด มิติสัมพันธ์ การสื่อความหมาย การลงความเห็น และการคำณวน และยังได้ทักษะทางสังอีกด้วย คือ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน ความสามัคคีของหมู่คณะ

นำเสนอบทโทรทัศน์ครูเกียวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวกมลรัตน์ มาลัย เลขที่ 6
เรื่อง : ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
    สรุป  เน้นกระบวนการสังเกต คิดวิเคราะห์ สร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำ เด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ 
            จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้  ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเอง ซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็ก  และยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง

Apply
    การจัดประสบการณ์เสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมCookingเป็นกิจกรรมที่เน้รนให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและคอยอำนวยความสะดวกให้ การทำกิจกรรมเช่นนี้จะทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น ดึงดูดการเรียนรู้ของเด็ก เนื่องจากเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเด็กนั่นเอง

Teaching methods
    อาจารย์เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักศึกษาโดยการจัดเตรียมของในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการจัดกิจกรรม อาจารย์จะคอยดูอยู่ห่างๆและปล่อยให้นักศึกษาได้จัดการสอนกันเอง จากนั้นสรุปกิจกรรมทั้งหมด สอดแทรกคุณธรรมเรื่องการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

Assessment  
       place : รูปแบบการนั่งเรียน นักศึกษานั่งกับพื้นเนื่องจากมีการทำกิจกรรมทำอาหารเพื่อให้สะดวกสะบาย ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน  
       Myself : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ