บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
ประจำวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2558
Knowledgeนำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวรัชดา เทพเรียน เลขที่ 5
เรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
สรุป ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้นครูยังต้องการตัวอย่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางซึ่งได้กำหนดไว้อย่าง กว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้
พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางซึ่งได้กำหนดไว้อย่าง กว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้
ในว่าแต่ละสาระ
-ครูจะสอนอะไร
-สอนแค่ไหน
- สอนอย่างไร
-มีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
โดย : นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์ เลขที่ 4
เรื่อง : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
สรุป วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ
โดย : นางสาวชณาภา คะปัญญา เลขที่ 4
เรื่อง : การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ผู้แต่ง : มิสวัลลภา ขุมหิรัญ
สรุป มีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
การพัฒนาแนวคิด(มโนทัศน์)
-โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
-ใช้การต้งคำถาม
-การทดลอง
-การสงเกตและการหาข้อสรุป
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
-สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
-สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
-ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
-ส่งเสริมกระบวนการคิด
-ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
-ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
-เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การสร้างความตระหนัก
-เราต้องการค้นหาอะไร
-เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
-เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
-สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
โดย : นางสาวชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดิ์ เลขที่ 22
เรื่อง : สอนลูกเรื่องอากาศ
ผู้แต่ง : ผศ. บุบผา เรืองรอง
สรุป จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัย รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและ จำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง เด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้นทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์ เลขที่ 3
เรื่อง : การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ของ : ณัฐชุดา สาครจริญ ต่อ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พ.ศ. 2548
สรุป
ความเป็นมาของวิจัย
สรุป
ความเป็นมาของวิจัย
จากการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยโดยใช้มาตรฐานสากลในการจัดอันดับปี 2544 พบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 49 จากทั้งหมด 49 ประเทศแสดงถึงการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เด็กไทยไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรการศึกษาไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจจากการทำกิจกรรม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจจากการทำกิจกรรม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผลการวิจัย
จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผลการวิจัย
จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
โดย : นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก เลขที่ 2
เรื่อง :ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่
ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ของ : ปริญญานิพนธ์ของสุมาลี หมวดไธสง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สรุป เด็กเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาในวัยเด็กจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัย เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ จะมีบทบาทสำคัญยิ่งเพราะ วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวก ในชีวิตการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวมยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัย การสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับจากกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กด้วยเหตุผลดังกล่าว และความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจวิธีการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อมุ่งให้เด็กได้ทดลองลงมือปฏิบัติด้วยตนเองรู้จักการคิดวิเคราะห์การแยกแยะจากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ
นำเสนอบทโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เลขที่ 8
เรื่อง : พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
สรุป
1.เรื่องไข่ ให้เด็กเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ พร้อมๆกัน และตั้งคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไข่สองใบนั้น ถ้าครูโยนไข่ทั้งสองใบพร้อมๆกัน จากนั้นครูทำการโยนไข่และให้เด็กสังเกต ผลปรากฏว่าไข่ใบหนึ่งแตก และอีกใบไม่แตก เด็กจึงทราบว่าไข่ที่ไม่แตกคือ ไข่ตตัม
2.เรื่องน้ำมัน ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืชและน้ำมันหมูจากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง น้ำมันพืชโปร่งเเสง
การนำเสนอ ใช้ ร.เรือ ล.ลิง คำควบกล้ำให้ชัดเจน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดการเขียนแผนการสอนในแต่ละกิจกรรม ต้องมีความสอดคล้องกันทั้งจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ และการประเมินผล จากการวิจัยหลายๆเรื่อง พบว่า การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
Apply
เน้นการสอนโดยให้เด็กเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเองเพื่อให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ รู้จักการแก้ปัญหา
อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมองได้อีกด้วย เนื่องจากเด็กได้เกิดกระบวนการคิด
Teaching methods
ถาม-ตอบ อาจารย์ถามความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นการทบทวนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อย่างหลาย ทบทวนความรู้จากประสบการณ์เดิม อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอต่างๆของนักศึกษาเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
Assessment
place : รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน
Myself :เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
Instructor : การสอนใช้เสียงดังชัดเจน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น