วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
ประจำวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558
Knowledge
กิจกรรมCooking
ข้าวจี่ 
Ingredient
-sticky rice
-eggs
-salt
-shredded chicken
Equipment
-chopsticks
-stove



วิธีการทำ
1.ปั้นข้าวเหนียวและเสียบไม้

2.ใส่ใส้ไก่หยอง

3.นำมาปิ้งบนเตาสังเกตสีที่เปลี่ยนไปแล้วเกลือและทาไข่




4.นำกลับมาปิ้งอีกครั้งสังเกตสีที่เปลี่ยนไปจนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล



ขนมโค
Ingredient
-sticky rice flour
-mashed green beans
-food coloring
-coconut
-water
Equipment
-electric pan
-dish

วิธีการทำ
1.เทแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำสีผสมอาหารแล้วนวดจนเข้ากัน


2.นำแป้งมากลึงใส่ใส้ถั่วเขียวบดแล้วปั้นแป้งเป็นรูปทรงต่างๆ

3.นำไปต้มในน้ำเดือด3-4 นาที สังเกตว่าสุกหรือไม่ดูจากการลอยของแป้ง


4.คลุกมะพร้าวขูด


หวานเย็น
Ingredient
-water various flavor
-ice
-salt
Equipment
-ladle
-stainless basin


วิธีการทำ
1.ผสมน้ำแข็งและเกลือในปริมาณที่เท่ากัน

2.เทน้ำที่ต้องการลงในกะละมังสเเตนเลส

3.คนน้ำในกะละมังไปเรื่อยๆจนเป็นน้ำแข็ง


4.ตักใส่แก้วพร้อมเสริฟ

Skills
   กิจกรรมCooking ทำให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างครบครัน รู้จักการสังเกต จำแนก การวัด มิติสัมพันธ์ การสื่อความหมาย การลงความเห็น และการคำณวน และยังได้ทักษะทางสังอีกด้วย คือ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน ความสามัคคีของหมู่คณะ

นำเสนอบทโทรทัศน์ครูเกียวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวกมลรัตน์ มาลัย เลขที่ 6
เรื่อง : ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
    สรุป  เน้นกระบวนการสังเกต คิดวิเคราะห์ สร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำ เด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ 
            จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้  ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเอง ซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็ก  และยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง

Apply
    การจัดประสบการณ์เสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมCookingเป็นกิจกรรมที่เน้รนให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและคอยอำนวยความสะดวกให้ การทำกิจกรรมเช่นนี้จะทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น ดึงดูดการเรียนรู้ของเด็ก เนื่องจากเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเด็กนั่นเอง

Teaching methods
    อาจารย์เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักศึกษาโดยการจัดเตรียมของในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการจัดกิจกรรม อาจารย์จะคอยดูอยู่ห่างๆและปล่อยให้นักศึกษาได้จัดการสอนกันเอง จากนั้นสรุปกิจกรรมทั้งหมด สอดแทรกคุณธรรมเรื่องการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

Assessment  
       place : รูปแบบการนั่งเรียน นักศึกษานั่งกับพื้นเนื่องจากมีการทำกิจกรรมทำอาหารเพื่อให้สะดวกสะบาย ภายในห้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน  
       Myself : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Classmate : มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
       Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น