วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
ประจำวันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

Knowledge
ของเล่นวิทยาศาสตร์ เรื่อง แม่เหล็ก
ชื่อชิ้นงาน ไปเรียนกันเถอะ
วัสดุอุปกรณ์
 - กระดาษแข็ง
 - สี
 - กาว
 - กรรไกร
 - ปากกาเมจิ
 - แม่เหล็ก









วิธีทำ
วาดรูปเส้นทางคมนาคมลงกระดาษตามจิตนาการ



วาดรูปยานพาหนะที่ใช้คมนาคม









ระบายสีตามจิตนาการ

 



นำแม่เหล็กมาติดที่รูปยานพาหนะ




วิธีการเล่น
  นำยานพาหนะวางไว้บนเส้นทางที่ต้องการไปยังจุดหมาย นำแม่เหล็กอีขิ้นวางไว้ด้านล่าง หรือด้านบนไปมาเพื่อเคลื่อนพาหนะไป-มา
 
หลัการทางวิทยาศาสตร์
แม่เหล็กมีสองขั้ว คือ ขั้วเหนือและขั้วใต้
    -แม่เหล็ขั้วเหมือนกันจะผลักกัน
    -แม่เหล็กขั้วเหมือนกันจะดูดกัน

Skills
นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
โดย :  นางสาววราภาณ์ แทนคำ เลขที่20
เรื่อง : การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Contruction of activity packagest to develop science processs skills for  preschool children
ผู้วิจัย : จุฑามาศ เรือนกำ
     สรุป  วิจัยนี้จัดทำเพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และเป็นการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมทั้หมด 20 ชุด เพื่อศึกษาผลการใช้การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




โดย :  นางสาวยุภา ธรรมโคตร  เลขที่19
เรื่อง : เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 The Result of Providing Natural Color Learning Activity on Young Children

 ผู้วิจัย : ยุพาภรณ์    ชูสาย

   สรุป เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง การใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาสตร์

Apply
    สิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเราล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนต้องมีลักษณะเป็นคนช่างสังเกตุนำสิ่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก
 
 
   Teaching methods
     ให้นักศึกษานำเสนองานวิจัย อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา เพื่อหาข้อสรุปที่เข้าใจง่ายเนื่องจากงานวิจัยเป็นเรื่องที่ยากจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเรื่องความรับผิดชอบ
   
Assessment    
       place : อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคพร้อมใช้งาน เหมาะแก่การเรียนการสอน
       Myself : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนไม่ตรงเวลา ขาดทักษะการตอบคำถาม นำเสนอไม่คล่องควรฝึกฝน
       Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แต่บางคนเข้าเรียน
                               ไม่ตรงเวลา
        Instructor : เข้าสอนตรงเวลา และ ปล่อยตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายอย่า

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัยวิจัย

  
สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ ของ เสกสรร มาตวังแสง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
                       พุธศักราช 2552

   ภูมิหลัง : ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็ก ปฐมวัยจะส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทาง แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ ของเด็ก
   ความมุ่งหมาย : การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้ 
 1.เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์
   ความสำคัญของการวิจัย : เป็นแนวทางสำหรับครูในการนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้ สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ
    ตัวแปรที่ศึกษา : 1. ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
   สมมติฐานการวิจัย
   การคิดวิจารญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : 1.แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 
2                                                 2.แผนการตัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  ชุดที่ 1 การวิเคราะห์  
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 
ชุดที่ 2 การใช้เหตุผล 


แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 

ชุดที่ 3 การสังเคราะห์


แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 

ชุดที่ 4 การประเมินค่า 


แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์



                 การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิด วิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะได้ สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และสรุปผลการทดลองตาม ความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล และการประเมินค่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด ขณะที่ทำกิจกรรม ดังนั้นเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงมีพัฒนาการคิด วิจารณญาณสูงขึ้น
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
    1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะ เกิดสนใจและตื่นเต้นในขณะที่ทำการทดลอง ได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้ คิดหาคำตอบและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
    2. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้หยิบ จับ สัมผัส สังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่างอิสระ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ใน กิจกรรมวิทยาศาสตร์
    3. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ทำให้เห็น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดและ บอกเหตุผลที่ได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจของตนเอง
    4. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง และสังเกตผลการทดลอง เพื่อสังเคราะห์กระบวนการ ในการทดลองเป็นขั้นตอน แล้วจึงสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง 

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
ประจำวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

Knowledge
การทำงานของสมอง
                                           
                                                 ที่มารูปภาพ http://ข่าวสุขภาพ.com
Image result for การทํางานของสมอง

การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
     การพัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ ควรเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลและยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง

การเรียนรู้แบบองค์รวม

ที่มาของรูปภาพ : http://www.slideshare.net/nawarat2011/ss-9496958

ความหมายของวิทยาศาสตร์

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
   การเปลี่ยนแปลง
   ความแตกต่าง
   การปรับตัว
   การพึ่งพาอาศัยกัน
   ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นลงข้อสสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
   ความอยากรู้อยากเห็น
   ความเพียรพยายาม
   ความมีเหตุผล
   ความซื่อสัตย์
   ความมีระเบียบและรอบครอบ
   ความใจกว้าง

Skills
นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
โดย :  นางสาวสุจิตรา มาวงษ์  เลขที่ 23
เรื่อง :  แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล
      แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ ข้อดังนี้        
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบ
อาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 


โดย :  นางสาวประภัสสร สีหบุตร  เลขที่ 22

เรื่อง :  เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
    นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า 

Apply
    การพัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ ควรเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง
มีความสุขกิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลและยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง นำหลักของ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  การศึกษาวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย 
   
   Teaching methods
      โปรแกรมMicrosoft Power Point ประกอบกับการบรรยายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงของพัฒนาการทางสอง ถาม-ตอบเพื่อเปิดโอกาสให้เรียนรู้และคลายข้อสงสัย
   
Assessment
       
       place : อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคพร้อมใช้งาน เหมาะแก่การเรียนการสอน
       Myself : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ขาดทักษะการตอบคำถาม
       Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                           บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลา
        Instructor : เข้าสอนตรงเวลา และ ปล่อยตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                         อธิบายอย่างชัดเจนเข้าใจง่าย

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
ประจำวันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

Knowledge

     ทฤษฎีของเพียเจท์
               เพียเจท์  เป็นผู้ริเริ่มทางความคิดที่ว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นย่อมอยู่กับการพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล  

             เพียเจท์ (Piaget, 1962) ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
             เพียเจท์ (Piaget) ผู้นำทางทฤษฎีสติปัญญากล่าวว่า การเล่นเกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก
และเป็นผลจากสถานภาพของการพัฒนาด้านสติปัญญา การเล่นของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ในวัยทารกเด็กจะเลียนแบบและกิริยาจากบุคคลหรือสัตว์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นการเล่นสามรูปแบบด้วยกันคือ การเล่นฝึก (Practice Play) จะเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในขั้นการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อเด็กอายุประมาณ ขวบจะเริ่มการเล่นโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) และจะพัฒนาไปเป็นการเล่นที่มีกฎกติกา (Games with Pules) 

Skills
กิจกรรมกระดาษแผ่นเดียว
    วิธีดำเนินการ
       - ครูแจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น
       - ประดิษฐ์อะไรก็ได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ แต่ห้ามซ้ำกัน
       - อธิบายหลักการททางวิทยาศาสตร์จากสิ่งที่ทำ สามารถสอนในเรื่องใดได้
สิ่งที่นำเสนอ
สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสง

เนื้อหา
แสง ทำให้เกิดความสว่ง และเมื่อมีวัตถุทึบแสงใดๆ มาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสงกับพื้นผิวที่แสงตกกระทบจะทำให้เกิดเงาตามรูปร่างของวัสดุนั้นขึ้น และวัตถุก็สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ทึบแสง โปร่งแสง และโปร่งใสได้ ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นๆ ให้แสงทะลุผ่านได้มากน้อยแค่ไหน ขนาดของเงาที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของต้นกำเนิดแสง วัตถุที่บังแสง และพื้นผิว ที่แสงตกกระทบว่า แต่ละอย่างอยู่ใกล้-ไกล กันมากน้อยเพียงใด รวมถึงอยู่ในมุมไหนอีกด้วย


Apply 
     การนำธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผ่านกระบวนการคิด  กรนำลำดับพัฒนาการตามทฤษฎีของเพียเจต์มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเป็นไปอย่างมีขั้นตอน
   
Teaching methods
       การใช้คำถามในการถาม-ตอบ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และความรู้จากประสบการณ์เดิม การให้ลงมือปฏิบัติจริง หลักการเชื่อมโยงความรู้จากสิ่งที่ตนสนใจ มีการใช้ Power point .ประกอบการสอน สอดแทรกการทักษะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมีปฏิภาณไหวพริบ

Assessment
       
       place : ห้องเรียนมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิค พร้อมใช้งานเก้าอี้มีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน
       Myself : มีความสนใจตั้งใจเรียน นำเสนอผลงานได้อย่างเข้าใจ แต่ยังแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้อย่างฉันพลัน มีจินตนาการที่ยังไม่ดีพอ 
       Classmate : ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือซึ่งกันแลกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
       Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอดแทรกข้อคิดคติสอนใจ