บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
ประจำวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558
Knowledge
การทำงานของสมอง
ที่มารูปภาพ http://ข่าวสุขภาพ.com
การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การพัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ ควรเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลและยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
การเรียนรู้แบบองค์รวม
ที่มาของรูปภาพ : http://www.slideshare.net/nawarat2011/ss-9496958
ความหมายของวิทยาศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลง
ความแตกต่าง
การปรับตัว
การพึ่งพาอาศัยกัน
ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นลงข้อสสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
ความอยากรู้อยากเห็น
ความเพียรพยายาม
ความมีเหตุผล
ความซื่อสัตย์
ความมีระเบียบและรอบครอบ
ความใจกว้าง
นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
โดย : นางสาวสุจิตรา มาวงษ์ เลขที่ 23
เรื่อง : แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล
แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบ
อาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
โดย : นางสาวประภัสสร สีหบุตร เลขที่ 22
เรื่อง : เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า การพัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ ควรเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง
มีความสุขกิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลและยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง นำหลักของ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
Teaching methods
โปรแกรมMicrosoft Power Point ประกอบกับการบรรยายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงของพัฒนาการทางสอง ถาม-ตอบเพื่อเปิดโอกาสให้เรียนรู้และคลายข้อสงสัย
Assessment
place : อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคพร้อมใช้งาน เหมาะแก่การเรียนการสอน
Myself : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ขาดทักษะการตอบคำถาม
Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลา
Instructor : เข้าสอนตรงเวลา และ ปล่อยตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อธิบายอย่างชัดเจนเข้าใจง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น