วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
ประจำวันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

Knowledge

     ทฤษฎีของเพียเจท์
               เพียเจท์  เป็นผู้ริเริ่มทางความคิดที่ว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นย่อมอยู่กับการพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล  

             เพียเจท์ (Piaget, 1962) ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
             เพียเจท์ (Piaget) ผู้นำทางทฤษฎีสติปัญญากล่าวว่า การเล่นเกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก
และเป็นผลจากสถานภาพของการพัฒนาด้านสติปัญญา การเล่นของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ในวัยทารกเด็กจะเลียนแบบและกิริยาจากบุคคลหรือสัตว์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นการเล่นสามรูปแบบด้วยกันคือ การเล่นฝึก (Practice Play) จะเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในขั้นการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อเด็กอายุประมาณ ขวบจะเริ่มการเล่นโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) และจะพัฒนาไปเป็นการเล่นที่มีกฎกติกา (Games with Pules) 

Skills
กิจกรรมกระดาษแผ่นเดียว
    วิธีดำเนินการ
       - ครูแจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น
       - ประดิษฐ์อะไรก็ได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ แต่ห้ามซ้ำกัน
       - อธิบายหลักการททางวิทยาศาสตร์จากสิ่งที่ทำ สามารถสอนในเรื่องใดได้
สิ่งที่นำเสนอ
สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสง

เนื้อหา
แสง ทำให้เกิดความสว่ง และเมื่อมีวัตถุทึบแสงใดๆ มาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสงกับพื้นผิวที่แสงตกกระทบจะทำให้เกิดเงาตามรูปร่างของวัสดุนั้นขึ้น และวัตถุก็สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ทึบแสง โปร่งแสง และโปร่งใสได้ ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นๆ ให้แสงทะลุผ่านได้มากน้อยแค่ไหน ขนาดของเงาที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของต้นกำเนิดแสง วัตถุที่บังแสง และพื้นผิว ที่แสงตกกระทบว่า แต่ละอย่างอยู่ใกล้-ไกล กันมากน้อยเพียงใด รวมถึงอยู่ในมุมไหนอีกด้วย


Apply 
     การนำธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผ่านกระบวนการคิด  กรนำลำดับพัฒนาการตามทฤษฎีของเพียเจต์มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเป็นไปอย่างมีขั้นตอน
   
Teaching methods
       การใช้คำถามในการถาม-ตอบ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และความรู้จากประสบการณ์เดิม การให้ลงมือปฏิบัติจริง หลักการเชื่อมโยงความรู้จากสิ่งที่ตนสนใจ มีการใช้ Power point .ประกอบการสอน สอดแทรกการทักษะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมีปฏิภาณไหวพริบ

Assessment
       
       place : ห้องเรียนมีอุณหภูมิพอเหมาะ อุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิค พร้อมใช้งานเก้าอี้มีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน
       Myself : มีความสนใจตั้งใจเรียน นำเสนอผลงานได้อย่างเข้าใจ แต่ยังแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้อย่างฉันพลัน มีจินตนาการที่ยังไม่ดีพอ 
       Classmate : ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือซึ่งกันแลกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
       Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอดแทรกข้อคิดคติสอนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น