วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัยวิจัย

  
สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ ของ เสกสรร มาตวังแสง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
                       พุธศักราช 2552

   ภูมิหลัง : ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็ก ปฐมวัยจะส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทาง แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ ของเด็ก
   ความมุ่งหมาย : การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้ 
 1.เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์
   ความสำคัญของการวิจัย : เป็นแนวทางสำหรับครูในการนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้ สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ
    ตัวแปรที่ศึกษา : 1. ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
   สมมติฐานการวิจัย
   การคิดวิจารญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : 1.แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 
2                                                 2.แผนการตัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  ชุดที่ 1 การวิเคราะห์  
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 
ชุดที่ 2 การใช้เหตุผล 


แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 

ชุดที่ 3 การสังเคราะห์


แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 

ชุดที่ 4 การประเมินค่า 


แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์



                 การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิด วิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะได้ สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และสรุปผลการทดลองตาม ความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล และการประเมินค่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด ขณะที่ทำกิจกรรม ดังนั้นเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงมีพัฒนาการคิด วิจารณญาณสูงขึ้น
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
    1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะ เกิดสนใจและตื่นเต้นในขณะที่ทำการทดลอง ได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้ คิดหาคำตอบและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
    2. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้หยิบ จับ สัมผัส สังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่างอิสระ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ใน กิจกรรมวิทยาศาสตร์
    3. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ทำให้เห็น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดและ บอกเหตุผลที่ได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจของตนเอง
    4. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง และสังเกตผลการทดลอง เพื่อสังเคราะห์กระบวนการ ในการทดลองเป็นขั้นตอน แล้วจึงสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น